หมึกพิมพ์รักษ์โลก | หมึกพิมพ์ถั่วเหลือง (Soy Ink)

              ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์แต่ก่อนนั้นล้วนต้องใช้สารเคมีทั้งสิ้น และในปัจจุบันหมึกพิมพ์ที่นิยมใช้กันมากๆ คือสารที่ได้จากน้ำมันปิโตรเลียมมีทั้งกลุ่มสายโซ่โมเลกุลสั้น (Aliphatic) และกลุ่มอะโรมาติก (Aromatic) เช่น เบนซิน โทลูอิน ซึ่งคือสารประกอบอินทรีย์ระเหยง่าย หรือ สาร VOCs (Volatile Organic Compounds) เป็นสารไวไฟและก่อมะเร็ง ยกตัวอย่างที่สารนี้จะเป็นส่วนผสม เช่น ทินเนอร์ ยาฆ่าแมลง ควันบุหรี่ สีทาบ้าน เป็นต้น แต่แล้ววันหนึ่งก็มีโครงการผลิตหมึกพิมพ์ที่มีฐานจากน้ำมันถั่วเหลืองแทนน้ำมันปิโตรเลียม เรียกว่า “หมึกพิมพ์ถั่วเหลือง” (Soy Ink) หรือ “หมึกพิมพ์รักษ์โลก”

DSC_1398_resize

ทีึ่มาของภาพ : https://www.tcdcconnect.com/panorama_soyink/project/4547/Printer-soy-ink-product

หมึกพิมพ์ถั่วเหลือง หรือ หมึกพิมพ์รักษ์โลกนี้คืออะไร

              ลักษณะคล้ายกับหมึกพิมพ์ทั่วไป แต่แตกต่างกันตรงที่เปลี่ยนส่วนประกอบของหมึกพิมพ์จากน้ำมันปิโตรเลียมมาใช้น้ำมันถั่วเหลืองแทน ซึ่งน้ำมันถั่วเหลืองที่นำมาใช้ก็คือน้ำมันเดียวกันกับที่ไว้ประกอบอาหาร หมึกพิมพ์ถั่วเหลืองสามารถใช้งานกับการพิมพ์ระบบ offset ได้ ปัจจุบันมีการคิดค้นให้หมึกพิมพ์ถั่วเหลืองนี้สามารถใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น เช่น หมึกพิมพ์หนังสือพิมพ์ หมึกพิมพ์ระบบ offset แบบป้อนแผ่น

คุณสมบัติ

              น้ำมันถั่วเหลืองที่อยู่ในหมึกพิมพ์ช่วยให้สาสีทำงานได้ดี สามารถหาได้ง่ายๆจากทั่วโลก ปราศจากสาร VOCs ที่ก่อให้เกิดมะเร็ง ช่วยลดปัญหากลิ่นเหม็นและมลพิษจากสารเคมีทางอากาศที่สูดดมเข้าไปให้น้อยลง และสามารถนำกระดาษกลับมาใช้ใหม่ได้ สามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์ และสามารถสัมผัสอาหารได้

จุดเด่น

  • เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
  • หมึกมีสีสันที่สดใส และมีความเข้มสูง
  • ช่วยยืดอายุการใช้งานของเครื่องพิมพ์
  • ต้านทานการเสียดสีได้ดี
  • มีผิวมันเงาสูง
  • ให้ความคมชัดกว่าหมึกพิมพ์ทั่วไป
  • สามารถประหยัดหมึกในการพิมพ์ระยะยาว
  • กระดาษที่ใช้พิมพ์สามารถนำมา recycle ได้ง่ายขึ้น
  • สามารถพิมพ์ลงบนบรรจุภัณฑ์
  • สามารถสัมผัสอาหารได้

จุดด้อย

  • ไม่สามารถนำมาใช้กับงานประเภทที่เป็นหมึกได้ทุกอย่าง เช่น ปากกาลูกลื่น Printer(Personal Printer)
  • แห้งตัวช้ากว่าหมึกฐานน้ำมันปิโตรเลียม เนื่องจากไม่มีการระเหยตัวละลายในโครงสร้างของ VOCs
ขอบคุณแหล่งข้อมูล
www.cuprint.chula.ac.th
บทความ creative knowledge จาก www.tcdc.or.th
www.chemtrack.org/News-Detail.asp?TID=2&ID=81
www.kmutt.ac.th/rippc/scrink.htm

ครั้งหน้าพวกข้าจักนำความรู้อะไรมาให้ออเจ้าศึกษาอีก อย่าลืมติดตามกัน

Share