เลือกป้ายที่ใช่ให้ธุรกิจของคุณ

 

               ป้าย คือแผ่นที่มีตัวอักษร หรือเครื่องหมายบ่งบอกให้รู้ เราสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวันมากมาย ป้ายมีหลากหลายรูปแบบ สามารถแบ่งแยกได้ตามวัสดุ และการใช้งานที่เหมาะสม แล้วป้ายแบบไหนล่ะ ? ที่จะเหมาะกับธุรกิจหรือร้านค้าของคุณ ไปดูกันค่ะ

1. ป้ายซิงค์ (Zinc)

ป้ายซิงค์หรือป้ายสังกะสีนั่นเองเหมาะสำหรับการใช้งานที่ต้องการความทนทาน

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากสังกะสี ส่วนใหญ่จะทาสีทับลงบนป้ายให้เกิดความสวยงาม และช่วยป้องกันสนิม มีทั้งแบบไดคัทเป็นตัวอักษร แบบยกลอย แบบฉลุลาย หรือแบบป้ายไฟซิงค์ก็ได้รับความนิยมเช่นกัน

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายชื่อร้าน ป้ายสำนักงาน ป้ายบริษัท ป้ายโรงงาน ป้ายบอกทาง เป็นต้น

2. ป้ายสแตนเลส (Stainless Steel)

ป้ายชนิดนี้สามารถทนทานต่อการกัดกร่อนได้ดี จึงทำให้ประยุกต์ใช้ตามความต้องการได้หลากหลายแบบ และยังนำกลับมาทำใช้ใหม่ได้ตลอด

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากสแตนเลสมีทั้งแบบ ไดคัทเป็นตัวอักษร ป้ายสแตนเลสแฮร์ไลน์ ป้ายสแตนเลสสกัดกรด เพื่อลงสี เป็นต้น

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายชื่อตำแหน่ง ป้ายบริษัท ป้ายสอด ป้ายหน้าห้อง เป็นต้น

3. ป้ายอะคริลิค (Acrylic)

มีความทนทานในระดับหนึ่ง ทนรับแรงกระแทกได้ดีกว่ากระจก

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากวัสดุอะคริลิค สามารถไดคัทเป็นตัวอักษรต่าง ๆ ได้อย่างสวยงาม

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายหัวไมค์อะคริลิก ป้ายชื่อบริษัท ป้ายร้านค้าทั่วไป เป็นต้น

4. ป้ายกระจก (Glass)

ค่อนข้างมีน้ำหนัก ทนต่อความร้อน ชื้นได้ดี รวมทั้งแสง UV ด้วยเช่นกันทำให้สีป้ายไม่ซีดจาง

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากกระจกโดยการนำแผ่นกระจกมาตัดตามรูปแบบต่าง ๆ ที่ต้องการ มีทั้งแบบติดสติ๊กเกอร์ การซ่อนไฟในกระจก การกัดกรดเซาะร่องเพื่อเทสี ป้ายกระจกฟิล์ม เป็นต้น

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายตั้งโต๊ะ ป้ายตำแหน่ง เป็นต้น

5. ป้ายไฟ (Light box)

ป้ายไฟ หรือกล่องไฟที่เรียกกันทั่วไป จะเลือกขนาดที่ใช้ตามพื้นที่ ที่ติดตั้งมีหลากหลายรูปแบบ

ลักษณะของป้าย

เป็นการนำวัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการทำป้ายมาประยุกต์ และเพิ่มหลอดไฟเข้าไปมีทั้งแบบตั้งพื้นและแบบติดผนัง ใช้ได้ดีในที่มืดหรือเวลากลางคืน

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายร้านค้าหรือร้านอาหาร ป้ายสถานที่ ป้ายห้างต่าง ๆ เป็นต้น

6. ป้ายพลาสวูด (Plastwood)

เป็นป้ายอเนกประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์การใช้งานเพื่อทดแทนป้ายอื่นใ ที่ผลิตจากการใช้ไม้ธรรมชาติ

ลักษณะของป้าย

มีลักษณะพิเศษที่ดีกว่าไม้ธรรมชาติคือไม่ดูดซึมความชื้น จึงไม่เกิดปัญหาการพองหรือบวมของวัสดุ นิยมนำมาไดคัทเป็นตัวอักษร หรือทำเป็นป้ายติดสติ๊กเกอร์ หรือพิมพ์สกรีน UV ก็ได้เช่นกัน

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายร้านค้า ป้ายบริษัท ป้ายความปลอดภัย เป็นต้น

7. ป้ายไวนิล (Vinyl)

ป้ายไวนิล หรือแบนเนอร์สามารถพับ หรือม้วนเก็บได้ ทำให้ประหยัดพื้นที่ ทนต่อสภาพอากาศ มีอายุการใช้งานตั้งแต่ 1เดือน – 2 เดือน หรือบางชนิดสูงสุดถึง 10 ปี

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากเนื้อพลาสติก PVC รีดอัดด้วยเส้นใยตาข่าย มีทั้งสีขาว และหลากหลายเฉด ส่วนใหญ่เป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าแนวนอน พร้อมเจาะตาไก่สำหรับแขวน หรือแนวตั้งก็นิยมขึงกับไม้เพื่อให้วางแนวตั้งได้

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายงาน ป้ายแจ้งประกาศตามชุมชน ป้ายหาเสียง ป้ายโปรโมชั่นที่ติดตามร้านค้า เป็นต้น

8. ป้ายพีพีบอร์ด (PP Board)

ป้ายชนิดนี้สามารถประยุกต์การใช้งานได้หลากหลาย แต่จะนิยมทำเป็นป้ายชั่วคราวซะมากกว่า เนื่องจากโอกาสเกิดการชำรุดค่อนข้างง่าย แต่มีความแข็งแรงกว่าโฟมบอร์ด

ลักษณะของป้าย

ป้ายพลาสติกมีลอนคล้ายกระดาษลูกฟูก น้ำหนักเบา สามารถจัดเก็บได้ตามลักษณะรูปทรงที่ออกแบบมา สามารถพิมพ์สกรีนลงพีพีบอร์ดได้โดยตรง หรือพิมพ์ลงสติ๊กเกอร์และนำมารัดลงพีพีบอร์ดก็ได้เช่นกัน

นิยมใช้สำหรับ

ป้าย Tencard ป้าย Standee สำหรับโปรโมทสินค้าและโปรโมชั่น รวมถึงป้าย Event และนิทรรศการต่าง ๆ ด้วย

9. ป้ายโฟมบอร์ด (Foam Board)

ป้ายชนิดนี้จะไม่แข็งแรงเท่าป้ายพีพีบอร์ด นิยมใช้งานเพียงชั่วคราว แต่มีความสวยงามกว่าเพราะพื้นผิวจะเรียบเนียน

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากเนื้อโฟมอัดแน่น ผิวเรียบละเอียด สามารถไดคัทเป็นรูปแบบต่าง ๆ ได้ สามารถพิมพ์สกรีนลงพีพีบอร์ดได้โดยตรง หรือพิมพ์ลงสติ๊กเกอร์และนำมารัดลงโฟมบอร์ดได้เช่นเดียวกับป้ายพีพีบอร์ด

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายพร็อพ ป้ายถือ ป้ายเชียร์ ป้ายชื่องานแต่ง ป้ายที่ใช้สำหรับงานชั่วคราว เป็นต้น

10. ป้ายไม้ (Natural Wood)

ป้ายไม้มีความคงทนและสวยงาม สำหรับน้ำหนักของป้ายไม้ ขึ้นอยู่กับเนื้อไม้ ราคาค่อนข้างสูง

ลักษณะของป้าย

ผลิตจากไม้ตามชื่อป้าย โดยใช้เทคนิคฉลุลวดลาย และตัวอักษร แล้วเทสี เพื่อให้ป้ายโดดเด่นขึ้น อาจมีการเคลือบใสลงวัสดุแล้วแต่เทคนิคการผลิต

นิยมใช้สำหรับ

ป้ายบริษัท ป้ายเลขที่บ้าน ป้ายบริษัท ป้ายรีสอร์ท ป้ายวัด ป้ายโครงการ ป้ายแหล่งชุมชนต่าง ๆ เป็นต้น

นี่แค่ป้ายบางส่วนที่นิยมใช้กันนะคะ หลากหลายมากมายกันเลยทีเดียว
ไม่ว่าร้านค้าหรือธุรกิจแบบไหน ก็ควรเลือกป้ายให้เหมาะสมกับการใช้งาน หวังว่าบทความนี้จะตอบโจทย์ทุกคนนะคะ

หากสนใจหรืออยากได้รับคำปรึกษา สามารถติดต่อทีมขายของเราที่ LINE : @smilesiamprinting

 

Share