การเข้าเล่มหนังสือ (Binding)

การเข้าเล่มหนังสือ (Binding) หนึ่งในกระบวนการงานหลังพิมพ์ (Post Press) ที่จะทำให้สื่อสิ่งพิมพ์ของคุณ ไม่ว่าจะเป็น หนังสือ สมุด นิตยสาร แคตตาล็อก แมกกาซีน เป็นต้น สมบูรณ์แบบ การเข้าเล่มหนังสือมีหลายวิธี แต่ที่นิยมกันจะมีดังนี้

 การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บมุงหลังคา หรือการเย็บอก

รูปแบบนี้นิยมใช้เย็บสมุด หรือหนังสือจำนวนหน้าน้อยๆ ไม่เกิน 80 หน้า การเข้าเล่มหนังสือของวิธีนี้คือ การนำกระดาษมาพับครึ่งแล้ววางซ้อนกัน (ไม่เกิน 80 หน้า) จากนั้นใช้เครื่องลวดเย็บตรงแนวพับ 2-3 ตัว แล้วแต่ความหนาของสมุด/หนังสือ
การเข้าเล่มหนังสือ

  การเข้าเล่มหนังสือแบบห่วง หรือแบบกระดูกงู

ข้อดีของการเข้าเล่มหนังสือแบบนี้คือ สมุด หนังสือสามารถเปิดกางจนสุดได้ นิยมใช้เข้าเล่ม ไดอารี่ สมุดโน้ต ปฏิทิน เป็นต้น ห่วงที่ใช้เข้าเล่ม มีทั้งแบบพลาสติก ลวด เหล็ก
การเข้าเล่มหนังสือ

  การเข้าเล่มหนังสือแบบไสสันทากาว หรือแบบไสกาว

นับว่าเป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเป็นรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือที่เรียบร้อย และสวยงาม แต่ราคาถูก เหมาะสำหรับหนังสือ หรือสมุดโน้ตที่มีความหนาประมาณ 70 หน้าขึ้นไป เช่น หนังสือเรียน นิตยสาร หนังสือการ์ตูน เป็นต้น แต่การเข้าเล่มหนังสือแบบไสกาว หนังสือหรือสมุด จะกางออกมาไม่ได้มาก เพราะจะทำให้หลุดง่าย สังเกตง่ายๆ เวลาเรากางหรือง้างหนังสือที่เข้าเล่มแบบไสกาวออกจนสุด หนังสือจะดีดกลับเหมือนเดิม วิธีเข้าเล่มแบบไสกาว คือนำกระดาษมาเรียงซ้อนกันจนเป็นเล่มแล้ว มาไสกระดาษด้านข้างให้เรียบ จากนั้นจึงทากาว เหตุผลที่ต้องไสสันก่อน เพื่อต้องการให้กาวแทรกซึมเข้าไปในกระดาษได้ดีขึ้น การยึดติดของกระดาษก็จะดีขึ้น จึงเป็นที่มาของคำว่า “เข้าเล่มแบบไสกาว”
การเข้าเล่มหนังสือ

 การเข้าเล่มหนังสือแบบเย็บกี่

รูปแบบนี้เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่แข็งแรง ทนทานมากที่สุด แต่ก็แพงที่สุดด้วยเช่นกัน เหมาะสำหรับการเข้าเล่มหนังสือที่มีจำนวนหน้าหนังสือมากๆ เช่น Dictionary พจนานุกรม สารานุกรม เป็นต้น การเข้าเล่มวิธีนี้ค่อนข้างยุ่งยากพอสมควร คือการเอากระดาษทั้งหมด มาแบ่งเป็นส่วนย่อยๆ แล้วเย็บแยกกันแต่ละส่วน โดยเย็บแบบมุงหลังคา แต่เปลี่ยนจากลวดเย็บเป็นด้ายเย็บแทน จากนั้นจึงเอาเล่มย่อยๆ ที่เย็บมาร้อยรวมกันเป็นเล่มใหญ่อีกที แล้วจึงนำปกมาหุ้มอีกชั้นหนึ่ง
การเข้าเล่มหนังสือ

 การเข้าเล่มหนังสือแบบกาวหัว

เป็นการเข้าเล่มหนังสือที่ไม่ได้เน้นความทนทานมาก นิยมใช้สำหรับสมุดฉีก กระดาษโน้ต เล่มคูปอง เป็นต้น เป็นการเข้าเล่มโดยให้ฉีกกระดาษออกไปใช้ได้ง่าย เป็นอีกหนึ่งรูปแบบการเข้าเล่มหนังสือที่ง่ายมาก เพียงแค่นำกระดาษมาวางซ้อนกันเป็นเล่ม จากนั้นนำกาวมาทาบริเวณสันตรงหัวกระดาษ รอให้แห้ง วิธีนี้จึงได้ชื่อว่าเป็นการเข้าเล่มหนังสือแบบ “กาวหัว”
การเข้าเล่มหนังสือ

Share